Container เหมาะกับ Cloud อย่างไร

เมื่อกล่าวถึง Cloud เราก็จะนึกไปถึง Hypervisor และ Virtual Machine ที่เป็น Virtualization องค์ประกอบสำคัญของ Cloud โดย Virtualization เต็มรูปแบบซึ่งพื้นฐานนั้นมาจาก Hypervisor-Based ที่ซึ่งพวก Host Operating System และ Hypervisor จะรันชิ้นส่วนของ VM อย่าง Independent Server ด้วย OS ของตน และ Middleware ทั้งนี้การ Virtualization ได้สร้างขอบเขตของระบบที่มีค่ามากใน Cloud และรูปแบบการ Virtualization ที่เป็นที่นิยมอยู่ตอนนี้ก็คือ Container Technology นั่นเอง

แม้ว่า Docker Container จะไม่ได้ขาด IT Support แต่ข้อจำกัดที่ยังต้องพึ่งพา Linux ทำให้จุดยืนของ Docker ในวงการ Cloud ดูไม่ค่อยชัดเจนเท่าไหร่นัก

ในการทำงานของ Container ตัว Server จะรัน OS ที่สร้าง Container แบบกึ่งอัตโนมัติเพื่อรองรับ Application ต่างๆ โดย Application พวกนี้จะแชร์การใช้งาน OS หรือ Host ร่วมกัน ทำให้ Server ไม่ต้องรัน OS ใหม่สำหรับแต่ละ VM และ รองรับการทำงาน Multi-Programming ได้ง่ายขึ้น รวมทังแบ่ง Application ออกจากกันได้ ถึงอย่างนั้นก็ยังไม่ใช่การแยกออกเป็นเอกเทศอย่างสิ้นเชิงเหมือนกับ VM

อาจกล่าวได้ว่าเทคโนโลยี Container เป็นคำตอบที่เหมาะสำหรับ Private Cloud และ Application บางอย่างของ Public Cloud โดยมี Container ยอดนิยม อย่าง Docker เป็น Platform ที่เพอร์เฟ็กต์ที่สุด

กระแสนิยม Docker ใน Cloud

Docker เป็นระบบจัดการ Container (Container Management System) อย่างหนึ่ง ที่จัดการการสร้าง Container อย่างอัตโนมัติเพื่อใช้รัน Application หรือ Component ต่างๆ โดยพื้นฐานแล้ว จะมีชุด API สำหรับจัดการ Container ที่อาจสร้างมาจากTemplate หรือ Command ซึ่งตอนนี้ Docker ก็มีการพัฒนาอยู่ตลอด ออก Orchestration Tool สำหรับ Deploy Component เพิ่มเข้ามาให้ใช้ง่ายได้ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น

ที่จริงแล้วการสร้างระบบ Container-Based จะทำบน OS แบบไหนก็ได้ที่รองรับการ Partition แบบ Container แต่ Docker กลับใช้ Linux Container Tool ดังนั้น Docker Container จึงรันเฉพาะ Application และ Component ของ Linux เท่านั้น แม้จะสามารถรันบน OS อื่นได้ แต่ก็ยังต้องการ Linux Guest OS ติดตั้งไว้ใน VM เพื่อรองรับการทำงานของ Container ซึ่งแน่นอนว่ามันก็ต้องรัน Application ของ Linux อีกเช่นกัน

ส่วนการรองรับ Docker ของ Windows จะเป็นการทำงานแบบที่ใช้ Docker ติดตั้งเอาไว้ใน VM (Docker-in-a-VM Approach) ซึ่งการนำ Docker มาใช้นอก Linux Host นั้นมีความยุ่งยากมาก ทำให้ผู้ใช้หลายคนรู้สึกว่าความยากมันมากเกินกว่าจะช่วยให้ทำงานได้สะดวกขึ้นอย่างที่ควร ต่อให้ผู้ใช้จะรัน Docker บน Host OS อื่นที่ไม่ใช่ Linux แต่สุดท้ายมันก็มีข้อจำกัดว่าต้องใช้ Application ของ Linux อยู่ดี อย่างไรก็ตามการ Host Docker Container บน Server ของ Windows ก็ยังถือว่าเหมาะสมกับผู้ใช้ที่มี Windows Server ขนาดใหญ่และต้องการเพิ่ม Linux-Based Application เข้าไป

ทางด้าน VM-based Virtualization และ Cloud Computing จะมีข้อได้เปรียบตรงความเป็นเอกเทศ เหมาะกับการทำ Public Cloud และ Server Consolidation อย่างยิ่ง โดยการสร้าง Application สำหรับใช้บน Cloud นั้น แทนที่จะย้าย Application จะช่วยลดความจำเป็นของการ Support ความเป็นเอกเทศในระดับนี้ลงไป

กลุ่มองค์กรสามารถ Host Container บน VM ใน Public Cloud หรือ Host ใน Data Center หรือกระทั่งบน Client Device ก็ได้ โดยใช้ Orchestration Tool ใหม่ของ Docker ในการ Deploy Container-Based Component รวมทั้งประสานการทำงานกับ Workflow แถม Tool พวกนี้ยังช่วยให้ใช้งาน Hybrid Cloud ได้สะดวกด้วยระบบ Failover ที่ใช้งานง่ายกว่าเดิม

ด้วยความเล็กและการทำงานอย่างรวดเร็วของ Container ทำให้สามารถ Scale จำนวน Load หรือ เพิ่ม/ลด Feature ได้ตามต้องการ อีกทั้ง Machine Image ที่ต้องใช้ Load โครงสร้าง Container ลงไปบน Bare-Metal หรือ VM ก็ง่ายต่อการพัฒนาระบบ และสามารถ Port ได้สะดวกอีกด้วย ตัว Application Image ที่ต้องติดตั้งลงไปใน Container ก็สามารถพัฒนาและสั่ง Deploy ได้ง่ายเช่นเดียวกัน โดยพึ่งการทำงานของ Host OS และ Middleware Service

Docker เป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ยังห่างไกลคำว่าเพอร์เฟ็กต์

ถึงจะได้รับความนิยมอย่างล้นหลามแต่ Docker ก็ไม่ได้สมบูรณ์แบบ ทำให้ VM ยังคงเป็นคำตอบที่ดีที่สุดสำหรับ Application ใน Public Cloud ที่มีผู้เช่าใช้เป็นจำนวนมาก เพราะว่าการเจาะระบบ VM เพื่อโจมตี Application นั้นทำได้ยากกว่าโจมตีที่ตัว Container นอกจากนี้ Docker ยังไม่ค่อยมีระบบป้องกันการดึงทรัพยากรไปใช้เกินจำเป็นของ Container จนส่งผลกระทบต่อเครื่องอื่นๆ และเพื่อบรรเทาปัญหาพวกนี้ จึงต้องรัน Container และ Docker ภายใน VM ซึ่งนับว่าเป็นพื้นฐานของการใช้งาน Docker และ VM ร่วมกัน

นอกจากนี้ ยังมีอีกวิธีหนึ่ง คือ การปรับ VM ให้ทำงานคล้ายกับ Container เรียกว่า “Mini-VM” เช่น การที่ Xen Mirage ใช้ Shim Kernel ที่มีความเป็นเอกเทศกับกับ Application อยู่บ้าง แต่จะเลี่ยงการคัดลอก OS และ Middleware ทั้งหมด

ส่วนการตัดสินใจว่าจะเลือกใช้ Container หรือ VM ดีนั้น ต้องดูจากโครงสร้างของ Application และ Source ซึ่ง Monolithic Application ที่สร้างขึ้นมาด้วย Server Consolidation จะมีขนาดใหญ่และไม่ยืดหยุ่น ใช้ประโยชน์จาก Container ได้ไม่มาก Application ที่เหมาะกับเทคโนโลยี Container คือ พวกที่มีพื้นฐานมาจาก SOA/REST เพราะ Application พวกนี้มีขนาดเล็ก กระจายตัวได้หลากหลาย ย้ายไปมาระหว่าง Cloud ได้ รวมทั้งสามารถ Scale อย่างต่อเนื่อง หรือรันการทำงานแบบเป็นช่วงๆ ได้ อย่างไรก็ดีการเลือกรันการทำงานด้วย Linux Container ก็คือการตัดสินใจเลือกใช้ Docker ไปโดยปริยาย

เทคโนโลยี Container และบทบาทของ Docker ในระบบ Cloud Computing มีแนวโน้มจะเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะเมื่อ Application ใหม่ๆ สำหรับ Cloud โดยเฉพาะได้รับการพัฒนาออกมาอยู่เรื่อยๆ นานวันเข้าก็จะมีการทำงานร่วมกันระหว่าง Docker กับ VM มากขึ้น Orchestration Tool คุณภาพสูงจะช่วยให้ผู้ใช้สามารถสั่งใช้งาน Component ใน Container หรือ VM หรือกระทั่ง Container ภายใน VM ก็ยังได้ ซึ่งเทคโนโลยีไม่ว่าจะเป็นอะไรก็ตาม จะไม่เกิดขึ้นมาเพื่อลบล้างการใช้งานของเทคโนโลยีเดิม แต่พวกมันจะทำงานร่วมกันเพื่อนำมาซึ่งประสิทธิภาพสูงสุดต่างหาก

Container Orchestration

ทั้ง Container และ OpenStack ต่างก็เป็นเทคโนโลยีสุดฮอตในระบบ Cloud แต่รู้หรือไม่ว่า Container Orchestration Tool ตัวไหนบ้างที่สามารถนำมาใช้งานร่วมกับ Open Source Cloud Platform อย่าง OpenStack ได้? มาหาคำตอบกันที่บทความนี้ได้เลย

องค์กรทั้งหลายมักใช้ Container Orchestration Tool (หรือบางครั้งก็เรียกว่า Container Orchestration Engine) ในการ Deploy, Scale, และ เชื่อมต่อส่วนประกอบต่างๆ ของ Container Technology เข้าด้วยกัน ซึ่ง Orchestration Tool นี้ช่วยให้องค์กรสามารถ Monitor พวก Container Instance เพื่อลดจำนวน Container ที่กระจายตัวอยู่ในระบบได้อีกด้วย

OpenStack Magnum Module ที่เป็นบริการ OpenStack API สำหรับ Container นั้นรองรับ 3 Container Orchestration Engine หลักๆ คือ Docker, Google Kubernetes, และ Apache Mesos

Docker เป็นหนึ่งใน Orchestration Engine ที่ได้รับความนิยมและเป็นที่รู้จักมากที่สุด Docker ทำให้ Developer สามารถ  Package และ Deploy ทั้ง Application ตลอดจนสิ่งที่ Application ต้องใช้ได้ภายในหนึ่ง Image ที่รันบนระบบของ Linux ทั้งนี้ Docker ก็มี Tool ของตัวเอง เช่น Docker Machine สำหรับสร้าง Docker Host, Docker Compose สำหรับรวบรวม Application ซับซ้อนทั้งหลายที่กระจายตัวอยู่, และ Docker Swarm สำหรับรองรับ Container Cluster ให้มีระบบ Computing ที่ยืดหยุ่นและ Scale การใช้งานได้

Google Kubernetes เป็น Container Orchestration Engine แบบ Open Source ที่รองรับการงานร่วมกับ Docker Container โดย Kubernetes นี้จะ Deploy และจัดการ Container อยู่ภายใน Compute Cluster ทั้งยังทำ Workload Balancing เพื่อคงไว้ซึ่งศักยภาพการทำงาน

Apache Mesos ก็เป็นอีกหนึ่ง Orchestration Engine แบบ Open Source ที่เน้นด้านความคงทนต่อความเสียหาย (Fault-Tolerant), Compute Cluster ขนาดใหญ่, และการรองรับ Node จำนวนนับหมื่นที่รัน Docker Container นอกจากนี้ Mesos ยังรองรับคอนเซ็ปต์ของ Jobs And Tasks รวมทั้งสภาพแวดล้อม Container ที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดและมีความสามารถการ Scale สูง ซึ่งองค์กรมักจะใช้งาน Mesos กับ Job System อย่าง Marathon สำหรับรัน Jobs และ Tasks

ผู้ใช้งาน OpenStack สามารถเลือกใช้อย่างไหนก็ได้จาก 3 Orchestration Tool นี้ โดย Engine ที่เลือกใช้จะถูก Provision อัติโนมัติไปยัง Host System ที่มี Container Deploy อยู่ทันที

 

น้ำหอมเสมือนศิลปะ

ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกล้วนเปลี่ยนเปลี่ยนไม่ว่าจะคงอยู่หรือหายไปก็ตาม น้ำหอมก็เป็นหนึ่งในนั้นแต่ไม่ได้เลือนหายไปตามกาลเวลา

แต่กับผนวกน้ำหอมกับศิลปะเข้าด้วยกันซึ่งกลิ่นน้ำหอมจะขึ้นอยู่กับจมูกของแต่ละบุคคล ตัวกลิ่นเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งในการนำพาคุณเดินทางไปยังที่สงบเพียงเท่านั้น  

น้ำหอมอยู่คู่ขนานกับวิวัฒนาการของมนุษยชาติมาตลอด โดยเฉพาะในสมัยโบราณถือว่าเรื่องความรู้สึกของการดมกลิ่นเป็นครั้งแรกนั้นสำคัญ

โดยกลิ่นที่ดมจะให้ความรู้สึกราวกับว่าเป็นสัญญาณแห่งการเริ่มใหม่และการเปลี่ยนแปลงหรืออีกนัยหนึ่งก็คือเป็นเครื่องหมายของความเป็นอมตะ

เพราะน้ำมันหอมถูกใช้ในพิธีการทำมัมมี่ โดยในสมัยโบราณเชื่อว่าชีวิตหลังความตายหากใส่น้ำหอมลงไปในโลงด้วยจะทำให้พระเจ้ายอมรับพวกเขาเค้าสู่อ้อมกอด ชาวอียิปต์โบราณจึงพรมน้ำหอมของพวกเขาด้วยน้ำมันหอมระเหยเข้ากับผมและส่วนต่างๆ

ซึ่งกลิ่นจะกระจายอย่างอ่อนโยน เปรียบเสมือนศิลปะโบราณที่ฟุ้งกระจายและคงสืบต่อกันมายาวนาน มีนักปรัชญาได้กล่าวไว้ว่ากลิ่นเป็นแหล่งความรู้ที่กระตุ้นความคิดเช่นเดียวกับเพลงแฟชั่นและศิลปะที่เจริญรุ่งเรืองในยุคอุตสาหกรรมของศตวรรษที่ 20 น้ำหอมตามกระแสของความคืบหน้าประดับประดาชีวิตของผู้หญิงทุกวันอย่างไม่เคยหยุดหย่อนตราบจนยุคนี้

Cloud Computing

Cloud Computing แบ่งเป็น 3 ประเภทด้วยกัน คือ Private CloudPublic Cloud, และ Hybrid Cloud ซึ่งความแตกต่างอยู่ที่ ระดับความปลอดภัย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เพื่อที่จะนำไปใช้ร่วมกับ Cloud

Cloud Computing เป็นบริการที่ครอบคลุมถึงการให้ใช้กำลังประมวลผล หน่วยจัดเก็บข้อมูล และระบบออนไลน์ต่างๆ จากผู้ให้บริการ เพื่อลดความยุ่งยากในการติดตั้ง ดูแลระบบ ช่วยประหยัดเวลา และลดต้นทุนในการสร้างระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่ายเอง มีทั้งแบบบริการฟรีและแบบเก็บเงิน

Public Clouds

Public Cloud คือ “คลาวด์สาธารณะ” เป็นรูปแบบการให้บริการ Service และ Infrastructure ทั้งหมดผ่านทางอินเตอร์เน็ต ไม่มีการติดตั้งใดๆ ในพื้นที่ของผู้ใช้งาน โดย Public Cloud เป็นระบบ Cloud ที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการแชร์ทรัพยากร ผู้ใช้สามารถเข้าใช้งานได้ทุกที่ และ Resource มีขนาดใหญ่ สามารถขยายหรือลดได้ตามความต้องการของผู้ใช้ แต่ก็ด้อยกว่าในเรื่องระบบรักษาความปลอดภัย เมื่อเทียบกับ Private Cloud อย่างไรก็ดี Public Cloud จะเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดเมื่อ:

– Workload มาตรฐานสำหรับ Application ถูกใช้โดยผู้คนจำนวนมาก เช่น E-mail

– ต้องการทดสอบและพัฒนา Application Code

– มี SaaS (Software as a Service) จากผู้ให้บริการที่เตรียมระบบรักษาความปลอดภัยและแผนการรับมือมาเป็นอย่างดีแล้ว

– ต้องการความสามารถเพื่อรองรับ Workload ที่เพิ่มขึ้นอย่างหนักหน่วงในช่วง Peak Time

– มีโครงการ หรืองานที่ต้องทำร่วมกับผู้อื่น

– ต้องการทำ ad-hoc software development project โดยใช้ PaaS ผ่านทางระบบ Cloud

ผู้ดำรงตำแหน่งสูงในฝ่าย IT หลายคนกังวลเรื่องความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือของ Public Cloud ดังนั้นต้องใช้เวลาพิจารณาให้มั่นใจแน่นอนว่าระบบถูกออกแบบมาอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นการป้องกันหรือรับมือเมื่อเกิดปัญหา ระลึกเสมอว่าการประหยัดงบประมาณในระยะสั้นอาจส่งผลในระยะยาวได้

Private Cloud

Private Cloud คือ รูปแบบการให้บริการ ที่ Service และ Infrastructure ทั้งหมดจะอยู่ใน Private Network ส่วนตัวของแต่ละองค์กรหรือบริษัท Private Cloud มีความโดดเด่นด้านระบบรักษาความปลอดภัยและการควบคุม แต่ทางผู้ใช้บริการต้องจ่ายเงินค่าบำรุงรักษา รวมไปถึงการจัดซื้อหรือซ่อมแซม Infrastructure และ Software ทั้งหมด ซึ่งไม่นับว่าเป็นการประหยัดรายจ่ายเท่าไหร่ ถึงอย่างนั้น Private Cloud ก็ยังคงเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดเมื่อ:

– มีการทำงานเกี่ยวกับ Data และ Application สำคัญในระดับที่สามารถชี้ความเป็นความตายของบริษัทหรือองค์กรได้ เงื่อนไขความปลอดภัยและการควบคุมการเข้าถึงจึงต้องมาเป็นอันดับหนึ่ง

– มีการทำธุรกิจในสายงานที่ต้องใส่ใจเรื่องความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของข้อมูลเป็นพิเศษ

– บริษัทหรือองค์กรมีขนาดใหญ่มากพอที่จะรัน Cloud Data Center อย่างมีประสิทธิภาพได้ด้วยตัวเอง

เส้นแบ่งระหว่าง Private และ Public Cloud เริ่มจะไม่ค่อยชัดเจน เพราะตอนนี้บางผู้ให้บริการ Public Cloud เริ่มมีบริการเสริมเป็น Private เวอร์ชั่น ของ Public Cloud ขึ้นมา และผู้ให้บริการ Private Cloud บางรายก็มีบริการ Public เวอร์ชั่น ที่มีความสามารถไม่ต่างกันเลยกับ Private Cloud ออกมาเช่นกัน

Hybrid Cloud

Hybrid Cloud เป็นรูปแบบผสมของ Public และ Private Cloud ประกอบด้วยความสามารถของทั้ง Public Cloud และ Private Cloud ซึ่งการเลือกใช้ Hybrid Cloud ทำให้นำความสามารถของ Cloud แต่ละแบบมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับธุรกิจแยกเป็นแต่ละส่วนได้ แต่มีข้อเสียก็คือ ผู้ใช้บริการต้องคอยตรวจเช็คการทำงานของ Security Platform ต่างๆ ที่แตกต่างกัน เพื่อให้แต่ละส่วนสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่น ซึ่งการเลือกใช้ Hybrid Cloud จะเหมาะสมที่สุดก็ต่อเมื่อ:

– ต้องการใช้ Application แบบ SaaS แต่มีความกังวลเรื่องความปลอดภัย ดังนั้นผู้ให้บริการ SaaS จึงสร้าง Private Cloud ขึ้นมาภายใต้ Firewall ของทางผู้ให้บริการ โดยผู้ใช้งานจะได้รับ VPN (Virtual Private Network) มาเป็นตัวเสริมความปลอดภัย

– เป็นธุรกิจที่ให้บริการในระบบตลาดแบบแนวตั้ง (Vertical Market) ซึ่งประกอบด้วยลูกค้าหลากหลายและเป็นอิสระแยกจากกัน จึงใช้ Public Cloud เพื่อติดต่อกับลูกค้า แต่เก็บข้อมูลของลูกค้าแต่ละรายไว้อย่างปลอดภัยภายใน

Private Cloud

ระบบการจัดการ Cloud Computing จะมีความซับซ้อนสูงขึ้นมาทันที เมื่อต้องจัดการทั้ง Public CloudPrivate Cloud, และ Data Center ภายในไปพร้อมๆ กัน ดังนั้นในการจัดการ Hybrid Cloud จึงจำเป็นต้องมีการเพิ่มความสามารถสำหรับจัดการและจัดกลุ่มการทำงานร่วมของสภาพแวดล้อมที่ต่างกันพวกนี้

IT รองรับ Cloud อย่างจริงจัง

เข้าสู่ยุค 4.0 อย่างเป็นทางการ ซึ่งเป็นยุคของเทคโนโลยีเต็มขั้น พร้อมทั้งพัฒนาก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งการมาของ Cloud ยังคงเป็นเรื่องใหม่ สำหรับใครหลายๆคน แต่ก็ถือเป็นเรื่องที่นักธุรกิจต้องศึกษา และนำมาใช้กับธุรกิจ เพราะ Cloud มีความสามารถที่หลากหลาย

ถือเป็นระบบที่ตอบสนองความสำเร็จของธุรกิจ IT ได้ดี แต่กระนั้นองค์กรหลายๆ แห่งยังคงใช้โปรแกรมแบบเก่าและมีทีม IT ดูแลด้วยวิธีการเดิมๆ ทั้งที่การเปลี่ยนเป็นระบบ Cloud จำเป็นต้องมีการปรับใช้ Application ใหม่ๆ ที่มีความเสถียร และเข้ากันได้กับ Cloud มากกว่า

ระบบ Cloud เปิดโอกาสให้ IT Operation team สามารถเริ่มต้น IT Project ได้เอง ด้วยบริการ SaaS และ Service เสริมต่างๆ อย่างไรก็ดีการเปลี่ยนแปลงนี้มาพร้อมกับความเสี่ยงด้าน Security และ Workflow แต่แทนที่จะล้มเลิกไปเพราะความเสี่ยงพวกนี้ สิ่งที่องค์กรควรทำมากกว่า คือ ลองเปลี่ยนไปใช้ Cloud Application ใหม่ๆ แยกส่วน Process ของ Application review ออกจากฝ่าย Application justification

ทางด้าน Compliance และ Security Review ก็ควรประกอบด้วย Policy document ซึ่งระบุ Requirement ของ Application ที่จะใช้งาน และ Review Process โดยทีม IT จะต้องหมั่นสำรวจทรัพยากรของ Cloud Application และตัดสินใจว่าต้องการใช้ทรัพยากรอะไรบ้างเพื่อให้สามารถทำงานได้ในระดับมาตรฐาน

นอกจากนี้ Cloud ยังเปลี่ยนรูปแบบการทำงานของฝ่าย IT อีกด้วย เพราะทรัพยากรของ Cloud สามารถเช่าใช้งานได้ตามต้องการ ทำให้การวางแผนของทีม IT เปลี่ยนไปจากเดิม คือ ไม่ต้องขึ้นอยู่กับทรัพยากรส่วนกลางของระบบ, Tools, และ Staff ภายในองค์กรเหมือนแต่ก่อน ระบบ Cloud ทำให้ฝ่าย IT สามารถจัดการกับความต้องการใช้งานทรัพยากรระยะสั้นได้ในราคาประหยัด

ทั้งนี้ IT Operation team ก็ควรเช็คค่าใช้จ่ายในใบเสนอราคาว่ามูลค่าของ Data Center สูงกว่าการใช้ Cloud จริงหรือไม่ โดยเฉพาะในส่วนของ PaaS กับ SaaS ที่น่าจับตามองเป็นพิเศษ เพราะช่วยประหยัดค่าบริการไปได้เยอะกว่า IaaS

การตรวจสอบอย่างละเอียดและวางแผนให้รัดกุมมากพอ จะส่งผลดีต่อการจัดสรรทรัพยากรในระยะยาว นอกจากนี้ยังควรมีการเตรียม Technical support รองรับการทำงานอย่างต่อเนื่อง แล้วจึงกำหนดปริมาณทรัพยากร Data Center ให้สอดคล้องกับความพร้อมของ Cloud service ทั้งนี้ต้องไม่ลืมคำนวณค่าใช้จ่ายสำหรับส่วน Security และ Governance อีกด้วย

ปรับแต่ง Application deployment model เพื่อใช้กับ Cloud

เมื่อย้ายมาใช้ Cloud แล้ว ฝ่าย IT ก็ต้องเตรียม Application Deployment Model ให้พร้อมรองรับการทำงานที่ครอบคลุมเพียงพอ ซึ่งการที่แต่ละ Application มี Requirement แตกต่างกัน เพราะใช้ Resource ที่หลากหลาย ทำให้เกิดความยุ่งยากระหว่างการ Deploy พอสมควร จึงน่าจะมีการสร้างนโยบายพื้นฐานเพื่อช่วยให้ฝ่าย IT และ User สามารถรับมือกับจำนวนทรัพยากรที่เพิ่มมากขึ้นได้ง่าย โดยโฟกัสไปที่ส่วนของโครงสร้างองค์กร, DevOps, Application Lifecycle Management (ALM) เป็นหลัก

อย่างไรก็ดีการหันมาใช้งาน Cloud อาจเสี่ยงต่อปัญหาได้ เพราะเมื่อมีการย้ายมาใช้งานระบบใหม่ องค์กรอาจขาด IT support ทำให้ Workflow เกิดความไม่ต่อเนื่อง เพราะฉะนั้นการออกแบบ Cloud plan ให้สนับสนุนกับโครงสร้างองค์กรจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก

กลยุทธ์ทาง DevOps ก็สามารถช่วยเรื่อง Scale ของ Resource ที่กล่าวมาข้างต้นได้ โดย DevOps คือการใช้ Automate deployment tools เพื่อสร้างและรักษาเสถียรภาพ Application บน Host platform ซึ่งถ้าไม่ใช้เครื่องมือพวกนี้ก็จะต้องหันไปพึ่ง Manual process ที่มีราคาแพง นอกจากนี้บางเครื่องมือของ DevOps ยังสามารถปรับแต่งให้ขยายขอบเขตการใช้งานไปยัง Cloud platform ได้อีกด้วย

ขั้นตอนสุดท้ายคือเรื่องของ ALM ที่มีเป้าหมายเพื่อพัฒนา Application ด้วยการกำหนด Specific testing และ Deployment rules ผ่านทาง ALM Software แบบพิเศษ หลายๆ องค์กรจะรวม Security และ Governance เข้าไปในขั้นตอนของ ALM ด้วย ซึ่งนับว่าสำคัญมากต่อการวางแผนใช้งาน Cloud

10 ข้อดีของ Cloud

Cloud Computing ฟังแล้วคงคุ้นๆหูกันบ้าง แต่รู้หรือไม่ ว่าแท้จริงแล้วคืออะไร ซึ่งก็อธิบายได้ดังนี้

Cloud Computing ก็คือระบบ Compting ที่อยู่บน Internet นั่นเอง โดยในอดีตเราใช้งาน Application หรือ Program ต่างๆ จากเหล่า Software ที่ดาวน์โหลดมาจาก Internet และนำมาติดตั้งไว้ในคอมพิวเตอร์หรือ Server อีกทอดหนึ่ง แต่ว่าระบบ Cloud Computing นั้นแตกต่างออกไป เพราะเราสามารถใช้งาน Application หรือ Program ทั้งหลายได้เลย ผ่านทาง Internet

โดยในทุกวันนี้ ชีวิตประจำวันของเราก็เกี่ยวข้องกับระบบ Cloud กันอย่างไม่รู้ตัว ทั้งการอัพเดท
สเตตัสบน Facebook และเปิดแอพฯ เช็คเงินในธนาคาร ล้วนเป็นการใช้งาน Cloud Computing ด้วยกันทั้งสิ้น ซึ่งใครๆ ต่างก็พึ่งพา Cloud Computing เพื่อแก้ปัญหายิบย่อยของการทำธุรกิจ เช่น การส่งอีเมลระหว่างเดินทาง หรือใช้สารพัดแอพฯ ช่วยบริหารจัดการ Workload เป็นต้น

ซึ่ง Cloud Computing นั้นกำลังกลายมาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของเราอย่างรวดเร็ว จากการคาดการณ์ในภาพรวม ราวๆ 90% ของธุรกิจในสหราชอาณาจักรจะต้องพึ่งพาอยู่บนระบบ Cloud Computing อย่างแน่นอน

แล้วทำไมเปอร์เซ็นต์ถึงเยอะขนาดนั้น? Cloud computing มีดีแค่ไหน? เสริมศักยภาพการทำธุรกิจได้อย่างไร? ช่วยให้ทำเงินได้เยอะขึ้นจริงหรือ?

และนี่คือ 10 ข้อได้เปรียบที่คุณจะได้เป็นเจ้าของทันที เมื่อเปลี่ยนมาใช้ Cloud

1 ยืดหยุ่น : พวกระบบบริการที่เป็น Cloud-based Service ทั้งหลาย น่าจะเรียกได้ว่าเป็นระบบในอุดมคติสำหรับธุรกิจที่มีการเคลื่อนไหวของ Bandwidth อยู่ตลอด เพราะในระบบ Cloud เราสามารถปรับเพิ่มหรือลดขนาดของ Bandwidth ได้ทันทีตามต้องการ เพิ่มความสะดวกและรวดเร็วในการทำธุรกิจไปอีกระดับ

  1. ไม่หวั่นต่อภัยธรรมชาติ : ทุกบริษัทล้วนต้องมีการลงทุนเพื่อกู้คืนความเสียหายจากภัยธรรมชาติอยู่แล้ว แต่สำหรับธุรกิจหน้าใหม่ที่อาจจะขาดทั้งเงินทุนและผู้เชี่ยวชาญ ระบบ Cloud คือ ตัวช่วยแก้ปัญหาได้เป็นอย่างดี ถ้าสำรองข้อมูลไว้บน Cloud ต่อให้เกิดภัยพิบัติใดๆ กับบริษัท ก็ไม่ต้องห่วงว่าข้อมูลจะเสียหาย แถมต้นทุนยังไม่แพงอีกด้วย
  2. อัพเดทซอฟต์แวร์อัตโนมัติ : สุดยอดข้อดีของระบบ Cloud ก็คือ Server ของมันเป็นแบบ Off-premise ไม่ได้มาติดตั้งกินพื้นที่อยู่ในบริษัทของเรา การดูแลทั้งหมด ไม่ว่าจะด้านความปลอดภัย บำรุงรักษา หรืออัพเดทซอฟต์แวร์ก็จะเป็นหน้าที่ของผู้ให้บริการที่คอยจัดการให้โดยอัตโนมัติ ผู้ใช้งาน Cloud สามารถเอาเวลาอัพเดทระบบ ไปสร้างสรรค์ธุรกิจของตนได้เต็มที่
  3. ไม่เสียค่าอุปกรณ์ : ลืมค่าอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ราคาแพงไปได้เลย เพราะเราไม่ได้มีเครื่อง Server ติดตั้งอยู่กับตัวบริษัท ผู้ใช้บริการระบบ Cloud เพียงแค่จ่ายค่าบริการในส่วนที่ต้องการใช้เท่านั้น ซึ่งวิธีนี้ทำให้เราสามารถใช้งานฮาร์ดแวร์คุณภาพสูงได้ในราคาค่าบริการที่ไม่แพง
  4. ประสานงานได้ดีขึ้น : ให้ลองนึกภาพ Google Drive เมื่อมีการสร้างหรือแชร์งานกันผ่านระบบ Cloud ทีมงานทุกคนจะสามารถทำงานพร้อมกันได้ทันที และยังอัพเดทแบบ real-time อีกด้วย
  5. อยู่ที่ไหนก็ทำงานได้ : พอกันทีกับยุคสมัยที่ต้องติดแหง็กนั่งทำงานอยู่กับที่ ระบบ Cloud ทำให้เราสามารถทำงานจากที่ไหน เมื่อไหร่ก็ได้ ขอเพียงแค่มี Internet กับอุปกรณ์สำหรับเข้าถึงก็เพียงพอ เพิ่มความคิดสร้างสรรค์ส่งผลดีต่องานของเราได้ด้วยการทำงานในสภาพแวดล้อมตามชอบใจ
  6. จัดการเอกสารได้ง่าย : สมัยก่อน เวลาจะส่งเอกสารทีไรก็ต้องแนบไฟล์ผ่านอีเมลเป็นรายคน และเมื่อมีการแก้ไขหรือส่งกลับไปกลับมาบ่อยๆ เข้า ก็เกิดปัญหาชวนสับสนเรื่องชื่อไฟล์ ฟอร์แมต รวมไปถึงเนื้อหา ไม่รู้ว่าอันไหนใช้งานได้หรือไม่ได้กันแน่ แต่ในระบบ Cloud ปัญหาพวกนี้จะหมดไป เพราะเอกสารจะถูกเก็บในส่วนกลาง มีการอัพเดทอยู่ตลอดทุกคนสามารถเปิดอ่านเอกสารฉบับล่าสุดที่เพิ่งแก้ไขได้ในทันที
  7. ปลอดภัย : ก่อนหน้าที่จะมีระบบ Cloud การโดนขโมยคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค หรือทำมันหาย ไม่ใช่แค่เสียเครื่องไปอย่างเดียว แต่ยังสูญข้อมูลข้างในซึ่งอาจเต็มไปด้วยความลับของบริษัทอีกด้วย ระบบ Cloud ช่วยให้ปัญหานี้เบาบางลง เพราะเก็บไฟล์งานไว้แบบออนไลน์ 100% หมดห่วงข้อมูลรั่วไหล
  8. เพิ่มอำนาจการแข่งขัน : บางบริษัทเล็กๆ อาจถึงกับต้องถอดใจเมื่อคิดจะลงสนามแข่งกับพวกธุรกิจรายใหญ่ เพราะติดปัญหาความพร้อมทางเทคโนโลยี แต่พอมีระบบ Cloud ก็วางใจได้เลย เพราะ Cloud จะทำให้บริษัทเล็กๆ สามารถใช้เทคโนโลยีและ Application ทันสมัย เพิ่มอำนาจในการแข็งขันได้อย่างเต็มที่ โดยเลือกจ่ายเฉพาะในสิ่งที่ต้องการใช้
  9. เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม : ถึงแม้ในภาพรวมดูจะมีแต่ข้อดีทางธุรกิจ ก็ไม่ได้หมายความว่าการย้ายมา Cloud จะเป็นเรื่องเห็นแก่ตัว ตามปกติแล้ว Server จะใช้พลังงานและปล่อยคาร์บอนออกไปมหาศาลในการ Scale ระบบที่อาจจะไม่ได้ใช้งานอย่างคุ้มค่าเท่าที่ควร  แต่ด้วยความยืดหยุ่นของ Cloud ที่ทำให้เราปรับ Scale ได้ตามปริมาณการใช้งานจริง ทำให้ไม่เกิดการสิ้นเปลืองพลังงานโดยใช่เหตุ นอกจากนี้การทำงานบนระบบ Cloud ยังช่วยลดปริมาณการใช้งานกระดาษ ด้วยการแชร์ข้อมูลออนไลน์แทนที่การปรินท์อีกด้วย

เรียกได้ว่าข้อดีเพียง 3 ข้อก็น่าจะเพียงพอให้ฝ่าย IT และฝ่ายบริหารของทางบริษัทพุ่งเป้าไปที่ Cloud แล้ว แต่นี่มีด้วยกันถึง 10 ข้อเลยทีเดียว ซึ่งสามารถคอนเฟิร์มคุณภาพว่าส่งผลดีต่อธุรกิจและสิ่งแวดล้อมแน่นอน ถึงขนาดนี้แล้วจะรอช้าอยู่ทำไม รีบเปลี่ยนมาวางแผนใช้ Cloud กันตอนนี้เลยดีกว่านะ

เหตุผลที่ฉีดน้ำหอม

เรื่องราวของกลิ่นหอม น้ำหอม และฟีโรโมน เป็นเรื่องยากในการอธิบาย เพราะจับผัสไม่ได้ด้วยตาตัวเองว่ามันมีอยู่จริง แต่คุณสามารถรับรู้ได้จากความรู้สึก อารมณ์ที่ส่งผ่านมาในรูปแบบของกลิ่น หากพูดกันตรงๆ แล้วน้ำหอมเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับผู้หญิงมาทุกยุคทุกสมัยหากคุณอยากหาเหตุผลสักข้อเพื่อให้คุณเชื่อมั่นในการซื้อน้ำหอมสักควรละก็ลองอ่านบทความนี้ดู

1.ในอดีตนั้นคลีโอพัตราที่ขึ้นชื่อว่าเป็นผู้หญิงที่สวยล้ำเกินคน แต่คลีโอพัตราก็ยังใช้น้ำหอมเรียกเสน่ห์แก่พูดพบเห็น นอกจากนั้นคลีโอพัตรายังฉีดน้ำหอมไปยังหัวเข่าของขุนศึกคนสำคัญของพวกเขา เพื่อกระตุ้นฟีโนโมนกระตุ้นความอยากทางเพศ แต่ในปัจจุบันฟรีโรโมนส่วนใหญ่จะใช้ทำงานเฉพาะกับผู้ชายมากกว่าในอดีต

2.หากพูดถึงเรื่องน้ำหอมแล้วไม่พูดถึงเรื่องความทรงจำก็คงเป็นไปไม่ได้ น้ำหอมมีความสามารถพิเศษในการเชื่อมโยงระหว่างความหอมและความทรงจำ เช่น เราอาจจะซื้อสินค้าที่ไหนสักแห่งและได้กลิ่นอบขนมที่เหมือนกับขนมที่เราชอบทาน จากนั้นจึงไปหากลิ่นน้ำหอมที่มีกลิ่นของขนม เมื่อฉีดทีไรเราก็จะรู้สึกว่าเหมือนอยู่ในร้านเบเกอรี่ก็ไม่ปาน

3.น้ำหอมจะพาไปคุณไปอยู่ที่สงบขึ้น เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ใช้ผ่อนคลายจากชีวิตประจำวัน เมื่อฉีดน้ำหอมแล้วเราจะรู้สึกถึงความสงบ ความเงียบ กลิ่นจะสามารถชุบจิตใจและกระตุ้นความรู้สึกไม่ให้เครียด

4.น้ำหอมช่วยบ่งบอกเอกลักษณ์ในตัวคุณ คุณสามารถเป็นคนแบบไหนก็ได้ในแต่ละวันเพียงเพราะคุณมีน้ำหอมหลากหลายกลิ่น หนึ่งหยดก็สามารถเปลี่ยนมุมมองสายตาผู้อื่นที่มองคุณตั้งแต่แรกพบได้

What are Cloud Servers?

Cloud Computing หรือเรียกสั้นๆ Cloud เป็นเทคโนโลยีที่กำลังขยับใกล้ตัวเรามากขึ้น และมีแนวโน้มในการนำ Cloud Computing ไปปรับใช้เพื่อประโยชน์ในหลายๆด้าน ซึ่ง ณ ปัจจุบัน เริ่มเห็นเป็นรูปธรรมมากขึ้น ไม่ว่าหน่วยงานภาครัฐเองก็ดี เอกชนเองก็ดร หรือจากองค์กรต่างๆ ทั้งไทยและเทศ

Cloud Computing คือ การทำงานของ Server ที่มีขนาดใหญ่ ทำงานด้วย Server หลาย ๆ เครื่องที่ใช้วิธีดึงเอาความสามารถจากคอมพิวเตอร์หลาย ๆ  เครื่องจากต่างสถานที่ให้มาทำงานประสานกัน เพื่อช่วยขับเคลื่อนการบริการทางด้าน IT ประโยชน์ของ Cloud Computing มีอยู่หลายประการ เช่น ช่วยให้การนำ IT ไปประยุกต์ใช้ในเชิงธุรกิจทำได้ง่ายและประหยัดขึ้นกว่าในอดีต โดยองค์กรสามารถใช้บริการทางด้าน IT ได้ โดยไม่จำเป็นต้องลงทุนมากกับโครงสร้างพื้นฐาน IT อีกทั้งผู้ใช้งานก็สามารถเลือกใช้บริการเฉพาะอย่างและเลือกเสียค่าใช้จ่าย ให้ตรงกับความต้องการเฉพาะด้านหรือสอดคล้องกับงบประมาณของทางองค์กรได้ ยิ่งไปกว่านั้น Cloud Computing ก็ยังมีประโยชน์ในด้านอื่น ๆ อีก ไม่ว่าจะเป็นการช่วยให้องค์กรประหยัดพลังงาน และเพิ่มความอุ่นใจในด้านความปลอดภัยของระบบ IT เป็นต้น

ซึ่งในปัจจุบัน Cloud ได้เริ่มเข้ามามีบทบาทในการใช้งาน Web Hosting มากขึ้น ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะ Cloud สามารถช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย ในด้านการลงทุนซื้อ Server ได้ สามารถเลือกจ่ายเท่าที่ทางองค์กรเลือกใช้ และมีบริการให้เลือกใช้อย่างหลากหลาย ตัวอย่างเช่น Web Site , VM หรือ VPS , Mobile Service , Storage , Etc.