LINE จัดงาน

ส่งท้ายปี LINE จัดงาน ‘LINE RETAIL TECH 2019’ ที่มาพร้อมเทคโนโลยี รวบรวมเทรนด์ของโลกธุรกิจค้าปลีก และเชิญกูรูชื่อดังในวงการค้าปลีก ร่วมแชร์มุมมองและประสบการณ์ในวงการธุรกิจค้าปลีก นอกจากนี้ยังเป็นการเปิดตัวโปรเจค ‘LINE OA Plus E-Commerce’ โซลูชั่นใหม่เพื่อผู้ประกอบการยุคดิจิทัลอีกด้วย

คุณศรีสุภาคย์ อารีวณิชกุล (ผู้อำนวยการธุรกิจองค์กร LINE ประเทศไทย) กล่าวว่า “ธุรกิจค้าปลีกไทยนับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาระบบเศรษฐกิจของประเทศ แต่ด้วยผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีทำให้ธุรกิจค้าปลีกมีการแข่งขันที่สูงขึ้น การพัฒนาเครื่องมือทางการตลาดใหม่ ๆ ที่สามารถเข้ามาตอบโจทย์ช่วยให้ธุรกิจค้าปลีกสามารถการทำตลาดดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพจึงเป็นสิ่งจำเป็น

เราตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องเหล่านี้ จึงจัดสัมมนาครั้งยิ่งใหญ่ส่งท้ายปี กับงาน ‘LINE RETAIL TECH 2019’ เพื่ออัปเดตภาพรวมตลาดค้าปลีกและ E-Commerce ของประเทศไทย เปิดมุมมองและเทรนด์สำคัญที่น่าจับตามองสำหรับธุรกิจค้าปลีกโดยเฉพาะ รวมไปถึงความท้าทายและทางเลือกที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดสำหรับธุรกิจค้าปลีกในปัจจุบัน

พร้อมเปิดโอกาสให้กลุ่มธุรกิจค้าปลีกได้ทำความรู้จัก ความเข้าใจ รวมถึงสัมผัสประสบการณ์เทคโนโลยีและโซลูชั่นใหม่ที่ LINE ได้พัฒนาขึ้นเพื่อผู้ประกอบการค้าปลีกในยุคดิจิทัลโดยเฉพาะ

โดย LINE พร้อมเป็นแพลตฟอร์มกลางที่รวบรวมหลากหลายโซลูชั่นแบบครบวงจร เพื่อรองรับและตอบโจทย์นักการตลาดและกลุ่มธุรกิจต่าง ๆ ให้สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ และสร้างกลยุทธ์ในการเชื่อมต่อกับผู้บริโภคอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด”

ภายในงาน คับคั่งไปด้วยกูรูผู้ที่คร่ำหวอดในวงการธุรกิจค้าปลีกและการตลาดดิจิทัลจำนวนมากที่มาร่วมเปิดมุมมองในเชิงลึกทั้งแนวโน้มธุรกิจค้าปลีก และบริบทใหม่ของการตลาดดิจิทัล พร้อมกับการมองหาเครื่องมือใหม่ ๆ เพื่อให้การทำการตลาดมีประสิทธิภาพสูงสุด เกิดประโยชน์และคุ้มค่ากับเม็ดเงินที่ใช้มากที่สุด

คุณวรวุฒิ อุ่นใจ ประธานสมาคมผู้ค้าปลีกไทย มาร่วมพูดคุยในหัวข้อ Retail Now and Next เกี่ยวกับสถานการณ์ของธุรกิจค้าปลีกในปัจจุบันและอนาคต รวมถึงเทรนด์ของร้านค้าปลีกรูปแบบใหม่ที่เกิดขึ้นแล้วในต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา และจีน ปัญหาและอุปสรรคที่จะก้าวไปสู่ค้าปลีกยุคใหม่

อีกทั้งยังมีห้องสัมมนาแยกพิเศษสำหรับผู้ที่ต้องการเจาะลึกในรายละเอียดเกี่ยวกับโซลูชั่นต่าง ๆ จาก LINE เพื่อเสริมความรู้ และทำความเข้าใจสำหรับการใช้งานโซลูชั่นต่าง ๆ จาก LINE ให้ดียิ่งขึ้น และการสนทนาหัวข้อ Driving sales conversion to success with LINE OA and API ซึ่งพูดถึงแนวคิดการแปลงยอดขายสู่ความสำเร็จด้วย LINE OA และ API ผ่าน 2 ผู้เชี่ยวชาญจาก LINE Certified Coach

Digital Transformation

นักธุรกิจยุคนี้ต้องรู้จัก Digital Transformation แต่หากนักธุรกิจมือใหม่ยังไม่รู้จัก ถือว่าพลาด แต่ไม่เป็นไรวันนี้เราจะมาเล่าให้ฟัง ว่าคืออะไรและ ธุรกิจ SMEs ควรปรับตัวอย่างไรในยุคดิจิทัล

หลาย ๆ คนคงนึกภาพว่าการปรับตัวธุรกิจสู่ยุคดิจิทัล หรือ “Digital Transformation” ว่าเป็นการใช้เทคโนโลยีอย่างเว็บไซต์ หรือ การสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ หรือ ใช้เทคโนโลยีเพียงจัดเก็บข้อมูล และ ลดความเสี่ยงต่อแฮกเกอร์ ซึ่งนั่นยังไม่ใช่ทั้งหมดของ “Digital Transformation

Digital Transformation” คือ การปรับใช้เทคโนโลยีเพื่อลดความซับซ้อนของกระบวนการทางธุรกิจในการปรับปรุง จากโครงสร้างของกระบวนการทำงาน และ แนวคิดขององค์กร ตั้งแต่ ผู้นำองค์กร จนถึง บุคลากรภายในองค์กร รวมถึงขยายบริการและผลิตภัณฑ์ด้วยเทคโนโลยีไปสู่โลกดิจิทัล

จากการวิจัยของ Bain & Company รายได้ขององค์กรที่เกิดการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลเพิ่มขึ้น 14% ระหว่างปี 2558-2560 (มากกว่าการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเทคโนโลยีในธุรกิจอุตสาหกรรมเดียวกัน) Bain & Company กล่าวเพิ่มเติมว่า ผลกำไรตามรูปแบบที่คล้ายกัน – 83% ขององค์กรที่ทำ Digital Transformation อัตรากำไรเพิ่มขึ้น ในขณะที่องค์กรที่ยังไม่ได้ทำมีจำนวนน้อยกว่าครึ่งหนึ่ง

อีกความเชื่อผิด ๆ ของกลุ่มคน คือ Digital Transformation เป็นเรื่องขององค์กร หรือ ธุรกิจ ขนาดใหญ่เท่านั้น แต่ในความเป็นจริงองค์กรทุกขนาด และ ทุกอุตสาหกรรมกำลังยอมรับความเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้

ธุรกิจขนาดเล็กกับ – Digital Transformation

การสำรวจล่าสุดของหน่วยงานวิจัยด้านไอที พบว่า มีธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กถึง 1,600 แห่ง มีเพียง 18% เท่านั้นที่ไม่ได้มีรูปแบบการทำ Digital Transformation นั่นหมายถึง 82% ของ SMB อยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัลแล้ว – Anurag Agrawal CEO ของ Techaisle กล่าว

การใช้เทคโนโลยีเป็นรากฐาน คือส่วนสำคัญขององค์กรที่ปรับตัวสำหรับ Digital Transformation จากการวิจัยของ Agrawal พบว่า 42% ของ SMB กำลังสร้างมุมมองแบบองค์รวมที่เกิดเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล คือ การมองกระบวนการที่ส่งผลกระทบต่อทุกแง่มุมของธุรกิจ และ เชื่อว่าการปรับตัวทางดิจิทัลต้องกลายเป็นส่วนสำคัญของกลยุทธ์องค์กร

โครงสร้าง” ขององค์กรคือส่วนสำคัญ ของ Digital Transformation

หลาย ๆ องค์กรที่ก้าวสู่ความเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล หรือ Digital Transformation ได้เกิดความคิดแบบองค์รวม และ รอบคอบมากขึ้น ซึ่งปัจจัยที่สำคัญที่สุดมุ่งเน้นไปที่การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างขององค์กร โดยในช่วงเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงทางดิจิตอลมี 3 ประเด็นหลัก ๆ ที่ควรให้ความสำคัญ

1.สร้างสรรค์พาร์ทเนอร์ทางธุรกิจ

ขั้นแรกให้ร่วมมือกับผู้มีส่วนได้เสียกับองค์กร โดยต้องเข้าใจก่อนว่า Digital Transformation ไม่ได้เป็นเพียงการเทคโนโลยีแบบใหม่เท่านั้น แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างพื้นฐานขององค์กรทั้งหมด ซึ่งสอดคล้องกับงบประมาณขององค์กรด้วย เพราะ โครงสร้างขององค์กรในยุคดิจิทัลต้องมีงบประมาณเพื่อใช้จ่ายทางด้านไอที เป็นตัวขับเคลื่อนองค์กร

ยกตัวอย่างเช่น แพลตฟอร์ม E-Commerce ของธุรกิจที่มีการใช้งานที่ยาก และ สร้างความสับสนกับผู้ใช้ ทำให้ผู้ใช้งานไม่กดซื้อสินค้า และทิ้งสินค้าในตะกร้า ถึงแม้จะมีการเปลี่ยนแปลงแพลตฟอร์มไปสู่ยุคดิจิทัล แต่อาจจะไม่สามารถการันตีได้ว่าจะเป็นประโยชน์ต่อการขายและการตลาดหรือไม่ หรือ องค์กรจะมีความพยายามในการพัฒนาแพลตฟอร์มที่สามารถใช้ประโยชน์ได้จริงหรือไม่

อย่างที่กล่าวไปในข้างต้น ว่า Digital Transformation ไม่สามารถเกิดขึ้นได้จากการเพิ่มขึ้น หรือ การพัฒนาด้านเทคโนโลยีเพียงอย่างเดียว หรือองค์กรไม่สามารถปรับตัวในยุคดิจิทัลได้จากการพัฒนาแผนกไอทีเพียงอย่างเดียว ซึ่งต้องเป็นหน้าที่ของผู้นำองค์กรที่จะสร้างความสัมพันธ์ทั่วทั้งองค์กร เพื่อการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการทำงานในสอดรับกับยุคดิจิทัล

“Data” – กุญแจสำคัญของ Digital Transformation

2.ถอดรหัสความสำเร็จจาก “Data”

ลำดับต่อมา องค์กรจะต้องให้ความสำคัญกับการเก็บข้อมูลทางดิจิทัลที่ให้บริการ ตัวอย่างง่าย ๆ เช่น ร้านกาแฟที่ให้บริการ Wi-Fi ซึ่งลูกค้าส่วนใหญ่มักจะชอบการใช้งาน Wi-Fi ที่ร้านกาแฟ แต่ถ้าร้านกาแฟสามารถสร้างข้อมูลเกี่ยวกับการใช้งานของลูกค้า ไม่ว่าจะเป็น ระยะเวลาการใช้งาน, พฤติกรรมการใช้งานของลูกค้า, อุปกรณ์ที่ลูกค้าใช้งาน และอื่นๆ “ข้อมูล” ที่ได้มาสามารถใช้ในการปรับปรุงการบริการ หรือ ผลิตภัณฑ์ รวมถึงกลยุทธ์ในการทำให้ลูกค้ากลับมาใช้บริการซ้ำอีกด้วย

“ข้อมูล” ยิ่งมีขนาดใหญ่ขึ้น ความท้าทายของการจัดการข้อมูลยิ่งมากขึ้นด้วย ซึ่งข้อมูลขนาดใหญ่จะสามารถบ่งชี้ลำดับความสำคัญในการจัดการต่าง ๆ ภายในองค์กร รวมถึงจุดแข็ง จุดอ่อน และ ข้อผิดพลาดภายในกระบวนการทำงาน โดยจำเป็นที่จะต้องทำความเข้าใจข้อมูลเหล่านั้นในการสร้างความสัมพันธ์ของคู่ค้า และ พนักงาน ที่จะสร้างจุดแข็งภายในองค์กรให้มีมากขึ้นด้วย

3.สิ่งสำคัญ คือการช่วยให้ระบบธุรกิจสามารถสื่อสารกันผ่านทาง API ซึ่ง Michael Schrage ของ MIT อธิบายว่า “เส้นทางสำหรับการปรับเปลี่ยนกระบวนการ คือ การทำงานพัฒนาระบบที่สามารถทำงานร่วมกันเป็นแพลตฟอร์ม”

สำหรับ Digital Transformation การเปลี่ยนแปลงระบบโครงสร้างด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบัน เริ่มเป็นที่สนใจ และ มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างในหลายอุตสาหกรรมที่รวดเร็ว รวมถึงมีการอัพเดทเทคโนโลยีใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลา การปรับเปลี่ยนนี้อาจจะเป็นชัยชนะในครั้งแรกที่จะนำไปสู่ชัยชนะขององค์กรภายในอนาคต ซึ่งระบบดิจิทัลนี้เป็นโอกาสที่จะเปลี่ยนแปลงไปสู่ความสำหรับในระยะยาว

LINE Official Account สำหรับธุรกิจ

จะทำธุรกิจ จะต้องรู้จัก LINE Official Account ที่สร้างขึ้นมาเพื่อธรุกิจโดยเฉพาะ หลายคนอาจจะรู้จัก LINE@ ช่องทางการตลาดของ Line แต่ LINE Official Account ถูกออกแบบให้ใช้งานง่ายขึ้นมาดูกันว่า LINE Official Account ทำอะไรได้บ้าง

1.LINE@ ที่เราคุ้นหูจะรวมกับ LINE Official Account เหลือเพียงแพลทฟอร์มเดียวเท่านั้น

  1. LINE Official Account เพิ่ม Tools ที่สะดวกกว่าเดิมสำหรับทำ Marketing ที่ LINE รวมไว้ให้ ได้แก่ Rich Message, Survey, Rewards Card, Coupon etc.
  2. LINE Official Account สามารถ เลือกส่งข้อความไปยัง Target ด้วย CMS เช่น เลือก เพศ, อายุ, os, พื้นที่, Friendship Period ทำให้ Message มีคุณภาพและไม่รบกวน Follower อื่นๆ ช่วยให้ Blocked Rate น้อยลง (ใช้ได้เฉพาะ Account ที่มี Follower 100 คนขึ้นไป)
  3. สร้าง Sponsored Sticker เพื่อ Get Follower ได้เหมือนแบรนด์ใหญ่ๆ ผ่านการ add friend, ทำ Mission พิชิตสติ๊กเกอร์, โหลดสติ๊กเกอร์หลังดู VDO จบ หรือดาวน์โหลดจากแบรนด์โดยตรง
  4. LINE Official Account เพิ่มตัวช่วยการตอบแชทที่สามารถใช้งานสลับกันระหว่าง Bot Mode และ Admin mode ผู้ใช้สามารถดู Log การพูดคุยระหว่าง Bot และ Admin โดยจะแยกตามสีของข้อความ เช่น ข้อความที่ส่งโดยแอดมินผู้ที่ใช้อยู่ จะเป็นสีเขียว ส่วน auto reply message และข้อความที่ตอบโดย admin คนอื่นจะเป็นสีม่วง เพื่อป้องกันการสับสน
  5. LINE Official Account อัพเดทการคิดค่าบริการตามการใช้งานจริง หรือ Pay as you go (เริ่มใช้ราคาใหม่ 1 สิงหาคม 2562) หลังจากปรับการใช้งานแล้ว LINE Official Account จะคิดค่าบริการเป็น 2 ส่วนหลักๆ คือ แพ็คเกจรายเดือน และค่าบริการจากการส่งข้อความส่วนเกิน