ทำความรู้จัก Cloud Server

ซึ่งยุคที่เปลี่ยนไป หมุนตามเทคโนโลยี Cloud Server ก็ถือเป็นหนึ่งในเทคโนโลยี ที่น่าจับตามอง และน่าใช้ หากคุณเป็นคนหนึ่งที่กำลังสนใจ Cloud Server วันนี้เราจะมาไขข้อข้องใจว่าจริงๆแล้ว Cloud Server คืออะไรกันแน่

ในบางมุม Cloud Server ก็มีรูปแบบการทำงานเหมือนกับ Physical Server แต่ฟังก์ชันที่ให้มานั้นแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ซึ่ง Cloud Hosting นั้นจะเป็นการเช่าพื้นที่ของ Virtual Server โดยผู้ใช้บริการจะต้องจ่ายค่าบริการเป็นรายชั่วโมง ซึ่งค่าบริการก็ขึ้นอยู่กับปริมาณการใช้งานในแต่ละช่วงเวลานั่นเอง

ต้องบอกก่อนว่าโดยปกติแล้ว บริการ Hosting จะมีทั้งสิ้น 2 แบบ ได้แก่ Shared Hosting และ Dedicated Hosting ซึ่ง Shared Hosting ถือว่ามีราคาถูกกว่า เนื่องจากจะมีการแชร์การใช้งานกันระหว่างลูกค้าด้วยกันเอง ซึ่งแน่นอนว่ามีข้อเสียอยู่พอสมควร ทั้งยังทำให้ผู้ใช้บริการไม่สามารถ Setup ให้เหมาะกับองค์กรของตนได้มากเท่าใดนัก ซึ่ง Dedicated Hosting สามารถแก้ไขจุดบกพร่องในส่วนนั้นได้ คือผู้ใช้บริการไม้ต้องไปแบ่งทรัพยากรกับผู้ใช้รายอื่น ให้ใช้ประโยชน์จาก Multiple Server ที่เป็นของตัวเองคนเดียวไปได้เต็มๆ ทั้งยังได้สิทธิ์ในการควบคุม Server แบบ Full Control อีกด้วย แต่ Hosting แบบ Dedicated Hosting ก็จะมีข้อเสียอยู่ตรงที่ว่า ผู้ใช้เองต้องมีการคำนวณสิ่งที่ต้องการใช้ไว้ล่วงหน้าให้แม่นยำที่สุด เพื่อให้มีทรัพยากรเพียงพอต่อ Traffic ที่จะเข้ามา ซึ่งหาดคำนวณไม่ดี อาจเกิดปัญหาด้านทรัพยากรไม่เพียงพอ หรือเหลือมากเกินไป ทำให้สิ้นเปลืองมากขึ้น ซึ่งบริการ Cloud Hosting เปรียบเสมือนการนำข้อดีของ Hosting ทั้งสองแบบมารวมเข้าด้วยกันนั่นเอง

อย่างไรก็ตามระบบ Cloud Server นั้นก็แตกต่างจาก Dedicated Server ในแง่ที่มันสามารถรันบน Hypervisor ได้ โดย Hypervisor มีหน้าที่ควบคุมศักยภาพของ Operating System ให้จัดสรรการทำงานได้ยามต้องการ ซึ่งในการทำ Cloud Hosting นั้นจะมี Cloud Server อยู่หลายเครื่อง เพื่อทำหน้าที่รองรับผู้ใช้บริการแต่ละราย เพื่อให้สามารถเข้าถึงทรัพยากรได้ทุกเวลาที่ต้องการ นอกจากนั้นระบบ Cloud Server ยังมีระบบสำรองเผื่อไว้ในเหตุการณ์ที่ Server เครื่องหนึ่งล่ม ก็ยังสามารถใช้ทำงานทดแทนกันได้

สรุปข้อดีหลักๆ ของ บริการ Cloud Server ได้ดังนี้

– Flexibility และ Scalability คือ สามารถดึงเอาทรัพยากรอื่นๆ มาเพิ่มเติมได้ในยามที่ต้องการ

– คุ้มค่าใช้จ่าย โดยจะคิดค่าบริการก็ต่อเมื่อมีการใช้งาน ซึ่งผู้ใช้บริการจะจ่ายค่าบริการตามจำนวนที่ใช้ในแต่ละช่วงเวลาเท่านั้น

– ติดตั้งง่าย กล่าวคือ บริการ Cloud Server ไม่มีการตั้งค่าเริ่มต้นมากเท่าใดนัก

– เชื่อถือได้ เนื่องจากมี Server สำหรับให้บริการอยู่หลายตัว ซึ่งถ้าตัวไหนเกิดปัญหาขึ้น แหล่งทรัพยากรก็จะย้ายไป Server อื่นทันที โดยไม่ให้กระทบต่อการใช้งานของลูกค้า

รู้อย่างนี้แล้ว การทดลองนำเอาเทคโนโลยีใหม่ ที่น่าสนใจเพื่อเพิ่มความง่ายให้กับธุรกิจของคุณมาใช้ ก็ถือว่าเป็นตัวเลือกที่ดีอย่างหนึ่งก็ว่าได้

Cloud Hosting คืออะไร

Cloud Hosting Service คือบริการ Hosting เพื่อเว็บไซต์ต่างๆ บน Virtual Server เพื่อจะนำเอาทรัพยากรคอมพิวเตอร์ออกมาจาก Network ภายในของ Physical Web Server

โดยเมื่อเปรียบเทียบกันตามลักษณะของสินค้าคุณประโยชน์ (Utility Model) ทางคอมพิวเตอร์แล้ว ดูจะเป็นการให้บริการอย่างหนึ่งมากกว่าจะเป็นสินค้า ก็ไม่แตกต่างถ้าหากถูกนำไปเทียบกับสาธารณูปโภคอย่างไฟฟ้าและก๊าซ เพราะ ลูกค้าสามารถเชื่อมต่อเข้าไปใช้บริการได้มากเท่าที่ต้องการ และจ่ายค่าบริการตามจำนวนการใช้งานจริง

Cloud Hosting Service คือ อีกทางเลือกหนึ่งของการ Host เว็บไซต์ บน Server เดี่ยว (ไม่ว่าจะเป็น Dedicated หรือ Shared Server) และสามารถเรียกได้ว่าต่อยอดมาจากคอนเซ็ปต์ของ Clustered Hosting ที่เว็บไซต์หนึ่งจะถูก Host บนหลาย Server แต่ใน Cloud Hosting นั้น Network ของ Server ที่ใช้จะมีขนาดใหญ่มาก และมักจะดึงมาจากหลาย Data Center ที่ตั้งอยู่คนละแห่งกัน

ตัวอย่างการใช้งาน Cloud Hosting Service สามารถแบ่งได้เป็น Infrastructure as a Service (IaaS) และ Platform as a Service (PaaS) ในกรณีของ IaaS ลูกค้าจะได้รับแค่ทรัพยากร Virtual Hardware สำหรับรองรับการติดตั้ง Software Environment เพื่อสร้าง Web Application ส่วนบริการ PaaS นั้น ลูกค้าจะได้ Software Environment มาด้วย เช่น Solution Stack ที่มีทั้ง Operating System, Database Support, Web Server Software, และ Programming Support ให้เอาไปใช้ติดตั้งและพัฒนา Web Application ต่อได้เลย ซึ่งธุรกิจที่มีระบบ IT Infrastructure ซับซ้อน และมีทีม IT ผู้เชี่ยวชาญอาจเลือกใช้บริการ IaaS เพราะสามารถปรับแต่งอะไรๆ ได้มากกว่า ในขณะที่ธุรกิจรายอื่นอาจนิยมเลือกความสะดวกง่ายดายของ PaaS

พัฒนาการต่อมาของแนวคิด Cloud Hosting สำหรับลูกค้าในระดับองค์กร ก็คือ Virtual Data Center (VDC) โดยมี Virtual Network ของ Server ในระบบ Cloud ที่สามารถใช้ Host ระบบ IT Operation และเว็บไซต์ทั้งหมดของธุรกิจนั้นๆ ได้

อีกหนึ่งตัวอย่างที่เห็นได้ชัดของ Cloud Hosting คือ การใช้ Public Cloud สำหรับ Host บน Virtual Server ที่ดึงทรัพยากรมาจาก Pool เดียวกันกับ Virtual Server สาธารณะอื่นๆ และใช้ Public Network เดียวกันในการถ่ายโอนข้อมูล ตัวข้อมูลเองก็จะถูกเก็บไว้ใน Share Server เดียวกับที่ใช้สร้างทรัพยากร Cloud เช่นกัน ซึ่ง Public Cloud นี้จะมีขั้นตอนการรักษาความปลอดภัยและเก็บความลับข้อมูลสำหรับการติดตั้งเว็บไซต์เป็นส่วนใหญ่อยู่แล้ว ส่วนลูกค้าบางรายที่กังวลเรื่องระบบความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวเอามากๆ ก็มีทางเลือกอื่น คือ การ Host ใน Private Cloud ซึ่งมีระบบ Ring-Fenced Resource ปกป้องทรัพยากร ไม่ว่าจะเป็น Server, Network, และอื่นๆ ทั้งที่ติดตั้งแบบ On Site และที่อยู่บน Cloud
การใช้ Cloud Hosting มักจะมาพร้อมกับข้อดีหลายอย่าง ได้แก่

Reliability : ทำงานได้ต่อเนื่อง

แทนที่การ Host บน Single Instance ของ Physical Server แบบเดิมๆ ตัวเว็บไซต์จะถูก Host บน Virtual Server ที่แบ่งออกเป็นส่วนๆ ดึงทรัพยากร เช่น Disk หรือ Space จาก Network ของ Physical Server มาใช้ ในกรณีที่ Server ใด Server หนึ่งเกิด Offline ขึ้นมา จำนวนทรัพยากรที่ใช้ได้อาจลดลงไปเล็กน้อย แต่ไม่ส่งผลกระทบต่อเว็บไซต์ โดย Virtual Server จะยังคงดึงเอาทรัพยากรมาจาก Network ของ Server ที่ใช้การได้มาอย่างต่อเนื่อง บาง Cloud Platform ถึงกับยังทำงานอยู่ได้ ต่อให้ทั้ง Data Center นั้น Offline ด้วยซ้ำ เนื่องจากแหล่งทรัพยากรของ Cloud มาจาก Data Center ที่มีอยู่หลายแห่งเพื่อลดความเสี่ยงนั่นเอง

Physical Security : ระบบรักษาความปลอดภัยทางกายภาพอย่างดี

เนื่องจาก Physical Server ถูกติดตั้งเอาไว้ใน Data Center จึงได้รับผลพลอยได้การดูแลรักษาความปลอดภัยจากผู้ให้บริการ ป้องกันบุคคลภายนอกเข้าถึงได้อยู่แล้ว

Scalability and Flexibility : ยืดหยุ่นต่อการใช้งาน

Cloud Hosting ให้บริการทรัพยากรแบบ Real Time และ On Demand อีกทั้งยังไม่มีข้อจำกัดความสามารถทางกายภาพของ Server หาก Traffic เพิ่มขึ้นอย่างกะทันหัน แล้วลูกค้าต้องการทรัพยากรเพิ่มเติมจาก Hosting Platform ก็สามารถปรับเพิ่มได้ทันที แม้จะเป็นการใช้งาน Private Cloud ก็สามารถ Burst การทำงานที่ไม่ส่งผลกระทบต่อความเป็นส่วนตัวของข้อมูลไปใช้ทรัพยากร Public Cloud ได้ เมื่อมีปริมาณ Load งานเพิ่มขึ้น

Utility style costing : ค่าบริการสมเหตุสมผล

สำหรับ Cloud Hosting ค่าบริการจะคิดตามปริมาณที่ลูกค้าใช้งานจริงเท่านั้น แม้จะเปิดให้ปรับเพิ่มทรัพยากรได้ตามต้องการ และเมื่อเลิกใช้งานแล้วก็จะไม่เสียค่าบริการในส่วนที่ไม่ใช้

Responsive Load Balancing : ตอบสนองได้ดี

Load Balancing เป็น Software อย่างหนึ่งที่สามารถ Scale ระบบการทำงาน เพื่อตอบสนองความต้องการใช้งานที่ปรับเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ทันที